วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย

Lab TCP/IP
คำสั่ง Ping
เป็นคำสั่งที่ใช้ในการตรวจสอบการเชื่อมต่อกับเครือข่ายระหว่างคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่อยู่ในเครือข่าย โดยคำสั่ง Ping จะส่งข้อมูลที่เป็นแพ็คเกจ 4 ชุดๆละ 32 Byte ไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทางที่ต้องการตรวจสอบ หากมีการตอบรับกลับมาจากคอมพิวเตอร์เป้าหมายก็แสดงว่าการเชื่อมต่อเครือข่ายยังเป็นปกติ แต่หากไม่มีการตอบรับกลับมาก็แสดงว่าคอมพิวเตอร์ปลายทางหรือเครือข่ายอยู่ในช่วงหนาแน่น

คำสั่ง cmd
เป็นคำสั่งที่ใช้เรียกโปรแกรม MS-DOS Prompt โดยเรียกจาก Run

คำสั่ง ARP

ARP เป็นโปรโตคอลที่ออกแบบมาสำหรับใช้ในเครือข่าย data link layer ที่สนับสนุนการ broadcast หน้าที่ของ ARP ในเครือข่าย TCP/IP คือการช่วยแปลง IP address ไปสู่ Hardware address เช่น MAC address เพื่อให้ host สามารถนำ hardware address ไปสร้่างเฟรมในระดับ data link layer ได้ ส่วน RARP ให้บริการตรงข้ามกับ ARP คือเป็นการค้นหา IP address จาก Hardware address

NETSTAT
เป็นคำสั่งที่ใว้ตรวจสอบว่ากำลังเชื่อมต่อTCP,UTPอยู่กับใครกับเครื่องใดบ้างและเครื่องใดกำลัง listen อยู่ พารามิเตอร์ที่ใช้บ่อยได้แก่
NETSTAT -A แสดงทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น TCP,UTP สถานะ listen สถานะ Establish และอื่นๆ
NETSTST -N แสดงเป็นตัวเลข โดยไม่ต้องทำการค้นหาชื่อโดเมนของ IP และชื่อประจำหมายเลขของเซอร์วิส
NETSTAT -parameter STRFIND string เพื่อใช้ค้นหาคำที่อยู่ในตารางผลลัพธ์ เช่น netstat -na findstr 80 เพื่อใชในการตรวจสอบเกี่ยวกับเซอร์วิสของ Web Server


วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

สรุป Networking Animations

Networking Animation


1.No Network การขาดระบบเครือข่ายในการติดต่อสื่อสาร ทำให้การสื่อสารเป็นไปได้ยากและช้า
2.Hub
อุปกรณ์ในการติดต่อสื่อสารกันระหว่าง Client โดยผ่านตัวกรองข้อมูลคือ Hub โดยอ้างอิงการส่งข้อมูลผ่าน Mac Address ของแต่ละ Client

3.Switch
อุปกรณ์ในการหาตำแหน่งของ Client ที่มีอยู่มากมายในระบบ ทำงานโดยการส่ง Mac Address ออกไปหาทุกเครื่อง หาก Mac Address เครื่องไหนตรงกันก็จะสามารถส่งข้อมูลไปถึงได้ หากไม่ตรงกันก็จะไม่สามารถส่งข้อมูลถึงกันได้ และ Mac Address ที่ส่งไปก็จะถูกลบทิ้ง
4.Switch Network With No Server
อุปกรณ์ Switch ที่ขาด Server ในการจัดเก็บข้อมูล Mac Address ของ Client และ อุปกรณ์ต่างๆทำให้เมื่อเข้ามาใช้งานอีกครั้งหนึ่งก็ทำให้ไม่สามารถค้นหาอุปกรณ์และ Client อื่นๆได้
5.Switch Network With Server
เครือข่ายที่มี Server ในการจัดเก็บข้อมูลและ Mac Address ของแต่ละ Client และอุปกรณ์ต่างๆ เมื่อหยุดการใช้งานแล้วกลับมาใช้งานใหม่ Client ก็จะเรียกข้อมูล Mac Address ของ Client อื่นๆได้จาก Server ทำให้ติดต่อสื่อสารกันได้ตลอดเวลา
6.Adding Switch
การเพิ่มจำนวน Switch ในเครือข่ายสามารถเพิ่มได้มากกว่า 1 ตัว และสามารถใช้ Switch ในการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายได้
7.The Address Resolution Protocal (ARP)
เป็นระบบในการยืนยันระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อค้นหาเส้นทางที่ถูกต้องในการรับส่งข้อมูลถึงกัน การทำงานคือ เมื่อเครื่องหนึ่งต้องการติดต่อไปยังอีกเครื่องหนึ่งก็จะส่ง packet ออกไปหาทุกๆเครื่องในเครือข่าย เมื่อ Physical Address ตรงกับ packet ที่ส่งไปก็จะทำให้เกิดเส้นทางที่ถูกต้อง ก็จะทำการส่ง packet กลับไปหาเครื่องที่ส่งมา แล้วจากนั้นจึงรับส่งข้อมูลกันโดยไม่ส่งข้อมูลไปผิดเครื่อง
8.ARP with Multiple Networks
เมื่อจะทำการติดต่อสื่อสารกันระหว่าง client คนละเครือข่ายกัน ARP ก็จะทำหน้าที่ในการจับคู่ IP Address กับเครื่องปลายทาง จากนั้นก็จะส่งข้อมูลผ่าน Router ออกไปหากันซึ่งสามารถข้ามเครือข่ายได้
9.Dynamic Host Configuration Protocal (DHCP)
เมื่อเครื่องลูกข่าย Client มีการใช้งานอยู่ ก็จะทำการส่ง packet ไปหาเครื่อง DHCP server เพื่อทำการ Register IP Address นี้ว่ามีการใช้งานอยู่ในเครือข่าย DHCP ก็จะทำการจดจำว่า IP Address นี้มีการใช้งานอยู่ในเครือข่าย
10.Routing and Forwarding
การส่งข้อมูลต่างเครือข่า่ยกัน โดยผ่าน Router หลายๆตัว Router ตัวแรกก็จะทำการหาเส้นทางที่ใกล้ที่สุดส่งไปยัง Router ตัวถัดไป จากนั้นก็ส่งไปสู่ Router ตัวที่อยู่ใกล้กับจุดหมายที่สุด แล้วจึงจะส่งผ่านข้อมูลสู่เครื่องปลายทางได้
11.IP Subnets
เป็นการแบ่งชั้นของ IP ในการแจกจ่าย IP สู่ Client ต่างๆในเครือข่ายซึ่งจะแบ่งเป็น Class A,B,C,D ซึ่งแต่ละชั้นก็จะมีลักษณะของ Subnet ที่ไม่เท่ากัน
12.TCP Connections
เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับ Server โดยเครื่องจะทำการส่ง SNK(syncronize) ไปสู่เครื่อง Server จากนั้นก็จะส่ง SNK พร้อมกับ ACK (acknowledge) ไปสู่เครื่องที่ส่งมา เพื่อยืนยันว่าเชื่อมต่อกันถูกต้องแล้วเครื่องคอมพิวเตอร์ก็จะส่ง ACK กลับไปให้กับเครื่อง Server เพื่อยืนยันการตอบสนอง
13.TCP Multiplexing
เป็นการส่ง Packet ไปสู่เครื่อง Server โดยส่งไปทีละ 2 Packet โดย Packet แรกจะส่งไปตาม HTTP ของ Server โดยที่จะระบุ รหัส HTTPและIP ของ Server และPacket ที่สองก็จะส่ง FTP ไปให้เซิร์ฟเวอร์ โดยจะมี FTP และ IP ของ Server จากนั้น Server ก็จะส่ง Packet กลับคืนสู่เครื่องที่ส่งมา ก็จะสามารถติดต่อกันได้
14.TCP Buffering and Sequencing
เป็นการส่งข้อมูลขนาดหลายใหญ่โดยการส่งไปทีละ Packet โดยที่ server จะอ่านที่ byte แรกและ byte สุดท้ายของ packet แล้วจะถูกส่งมาเรื่อยๆ กระทั่งข้อมูลนั้นครบ หากข้อมูลนั้นขาดหายไป Server ก็จะส่ง Packet กลับไปเพื่อขอข้อมูลที่ขาดหาย จากนั้นข้อมูลที่ขาดหายก็จะถูกส่งมาเพื่อเติมข้อมูลให้สมบูรณ์
15.User Datagram Protocal (UDP)
เมื่อส่งข้อมูลขนาดใหญ่ไปสู่เซิร์ฟเวอร์เครื่องคอมพิวเตอร์ก็จะส่ง TFTP และ VoIPจาก Address ไปสู่เครื่อง Server จากนั้น Server ก็จะตอบสนองกลับมา แล้วก็จะสามารถส่งไฟล์ขนาดใหญ่ไปสู่เครื่อง Server หากข้อมูลขาดหายไปเครื่อง Server ก็จะไม่ทราบ และก็จะรับข้อมูลเท่าที่ได้มา และเมื่อ Server Offline ข้อมูลก็จะไม่สามารถรับข้อมูลได้
16.IP Fragmentation
การจัดเรียง Packet ก่อนที่ Server จะรับข้อมูล ว่าข้อมูลเรียงกันถูกต้องหรือไม่ หากข้อมูลไม่ครบหรือไม่ถูกต้อง Server ก็จะไม่รับข้อมูลนั้นทันที
17.Switch Congestion
เป็นปัญหาการ Overflow ของ Switch เมื่อ buffer เต็ม Switch จะไม่ทำการบันทึก Packet ที่ล้นออก ทำให้ข้อมูลเกิดการสูญหาย
18.TCP Flow Control
เป็นระบบควบคุมการส่งข้อมูลที่จะส่งข้อไป เมื่อ Buffer ของ Server ยังมีข้อมูลค้างอยู่และข้อมูลที่จะส่งไปใหม่มีขนาดใหญ่กว่า Buffer ที่เหลือ จึงส่งข้อมูลไปทีละส่วนเพื่อที่จะไม่ทำให้ Buffer Overflow เมื่อส่งข้อมูลไปแล้ว Server ก็จะส่ง Packet เพื่อแจ้งให้คอมพิวเตอร์ส่งข้อมูลที่เหลือไปอีกครั้งจึงทำให้ข้อมูลไม่สูญหาย
19.Internet Access
การเข้าถึงระบบอินเตอร์เน็ตโดยการส่งข้อมูล Packet ไปสู่เครื่องของผู้ให้บริการ (ISP) จากนั้นก็จะตอบ Packet กลับมาเพื่อที่จะทำให้ใช้งานอินเตอร์เน็ตได้โดยมี Router ทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อระหว่าง ISP และเครื่องคอมพิวเตอร์
20.Email Protocals
เป็นระบบที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล Email จากคอมพิวเตอร์ แล้วส่งไปยัง Server ของอีกผู้ให้บริการหนึ่งโดยการเก็บข้อมูลไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ตัวเอง แล้วส่งไปยังเซิร์ฟเวอร์อื่น เมื่อมีผู้รับ Email ของ Server นั้น Server ก็จะส่ง Email ให้เมื่อ User เข้ามาใช้งาน
21.Wireless Network and Multiple Access with Collision Avoidance
ระบบเครือข่ายไร้สายและการเข้าถึงข้อมูลที่หลากหลายโดยที่สัญญาณไม่ชนกันของแต่ละเครื่อง ตามมาตรฐานการเชื่มต่อ IEEE 800.11 โดยใช้การส่งข้อมูลในวิธีแบบ RTS & CTS
22.Virtual Private Network (VPN)
เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องที่ทำการเชื่อมต่อกันโดยไม่ผ่าน Router ตัวกลาง โดยจะทำการสร้าง IP Tunnel ข้ามไปสู่ Router ของอีกฝั่งหนึ่งได้โดยรวดเร็ว
23.Public Key Encryption
การสร้างรหัสลับในการเข้าถึงข้อมูลภายในองค์กร เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารกันภายในองค์กรเพื่อรักษาความปลอดภัยของข้อมูล โดยที่ผู้อื่นไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลภายในองค์กรได้
24.Firewalls
ระบบป้องกันการเข้าถึงโดยผู้ใช้สาธารณะในการเข้าถึงข้อมูลภายในเครือข่ายส่วนตัว เป็นตัวกรองข้อมูลต่างๆให้ผ่านไปได้ตามกฏที่ตั้งไว้
25.Stop-and-Wait ARQ
เทคนิคการรับส่งข้อมูลในการหยุดรอการส่งข้อมูลเป็นชุดๆไป โดยจะส่งไปทีละ Packet เพื่อไม่ให้ข้อมูลชนกัน
26.Go-back-N ARQ
เป็นการกลับไปแก้ไขpacket ที่ส่งไปในตำแหน่งที่เกิดข้อผิดพลาด โดยการส่ง packet ชุดนั้นไปใหม่อีกรอบ จนครบจำนวนของ buffer
27. Selective Repeat ARQ
เป็นระบบจะทำการแก้ไข packet ณ จุดที่เกิดข้อผิดพลาดทันที แล้วก็จะทำต่อไปได้ทันที เป็นระบบที่ทำงานได้เร็วที่สุด
28.The OSI Model
เป็นมาตรฐานในการส่งข้อมูลตั้งแต่ขั้น Physical Layer จากคอมพิวเตอร์ไปจนถึง Application Layer โดยการติดต่อกับผู้ใช้โดยตรง
29.Peer-to-Peer (P2P) Computer Network
เป็นเครือข่ายการติดต่อสื่อสารโดยตรงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย โดยไม่ผ่าน server
30.Ad-hock Network
เป็นระบบเครือข่ายแบบไร้สายในการติดต่อสื่อสารกันระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย






ผู้ติดตาม